ดนตรีนั้นมีประโยชน์และสามารถช่วยพัฒนาศักยภาพต่างๆได้อย่างไร

ดนตรีนอกจากจะช่วยทำให้เรารู้สึกเพลิดเพลินอารมณ์ผ่อนคลายความเครียดได้แล้วการให้เด็กได้ใกล้ชิดสัมผัสกับดนตรีตั้งแต่เล็กนั้นจะช่วยพัฒนาศักยภาพ ของเด็กในหลายๆด้าน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา ศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ทั้งนี้ดนตรีนั้นมีประโยชน์และสามารถช่วยพัฒนาศักยภาพต่างๆด้วยกัน คือ1.ช่วยพัฒนาศักยภาพทางด้านบุคลิกภาพและความเป็นตัวตนเหมือนเป็นสื่อกลางที่ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพและความเป็นตัวตนให้บุคคลนั้นมีความมั่นใจ กล้าแสดงออก กล้าคิดกล้าทำและกล้าแสดงออกทำให้มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น 2.ช่วยพัฒนาศักยภาพทางด้านอารมณ์ซึ่งในเพลงแต่ละเพลงนั้นต่างก็มีลักษณะหรือเอกลักษณ์ของดนตรีที่แตกต่างกันออกไป เพลงที่มีทำนองและจังหวะช้าๆทำให้รู้สึกสงบ มีสมาธิและผ่อนคลาย เพลงที่มีทำนองและจังหวะเร็วๆช่วยทำให้อารมณ์ครึกครื้น 3.ช่วยพัฒนาศักยภาพทางด้านสติปัญญา หากมีการใช้ดนตรีตั้งแต่วัยเด็กจะยิ่งเพิ่มศักยภาพของสมองได้มากขึ้นด้วยนอกจากนี้ดนตรียังช่วยทำให้มีการคิดอย่างเป็นระบบและช่วยในเรื่องของความจำด้วย ฉะนั้นการสนับสนุนให้เด็กได้มีกิจกรรมด้านดนตรีควบคู่ไปกับการเรียน ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลง ฟังเพลงที่ชอบ เล่นเครื่องดนตรีที่สนใจ สิ่งเหล่านี้จะมีส่วนช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนในวิชาต่างๆเพิ่มสูงขึ้น เพราะว่าดนตรีจะช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างความมีเหตุมีผลกับจินตนาการ ซึ่งจะส่งผลให้การคิดวิเคราะห์ได้ผลดียิ่งขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนยอมรับว่าดนตรีมีส่วนสำคัญที่สามารถส่งเสริมความสามารถในการทำงานของสมองได้อย่างดีเยี่ยม พ่อ แม่ ควรจะให้การสนับสนุนให้ลูกได้ทำกิจกรรมดนตรีเพราะนอกจากจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาด้วย
จะเห็นได้ว่าดนตรีนั้นมีประโยชน์มากมายนอกจากที่กล่าวมานี้ ดนตรียังสามารถนำไปใช้ในสถานพยาบาลหรือหน่อยงานต่างๆ ที่เรียกกัน ว่าคนตรีบำบัด โดยการสร้างเสียงดนตรีและจังหวะเพลงในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิด

การแสดงความรู้สึกนึกคิด เพิ่มทักษะในการใช้ชีวิต ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคม สร้างความคิดสร้างสรรค์ มองเห็นคุณค่าในตัวเองและ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น หรือแม้กระทั้งเล่นดนตรีเป็นงานอดิเรกเป็นที่นิยมชนิดหนึ่งทำให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และยังเป็นการฝึกฝนเพื่อเพิ่มความสามารถพิเศษอีกด้วย

This entry was posted in อิทธิพลของอินเตอร์เน็ต and tagged , . Bookmark the permalink.

Comments are closed.