การแต่งเพลงที่ดีนับว่าเป็นศิลปะชั้นสูงที่ผู้เขียนต้องใช้ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ตลอดจนทัศนคติในแง่มุมต่างๆ โดยกลั่นกรองความคิดนั้นออกมาเป็นถ้อยคำ เป็นเรื่องราว ผ่านตัวอักษรโดยใช้ศิลปะและกลวิธีการใช้ภาษาที่ดีทำให้เกิดงานเขียนที่มีคุณค่า ถ้าผู้เขียนเพลงไม่มีศาสตร์ผลงานที่เขียนออกมาจะไม่สมจริงขาดความน่าเชื่อถือและไม่ต่อเนื่อง คือจะเขียนได้ไม่ต่อเนื่องเขียนได้ไม่มาก จะเขียนได้แค่ตามแต่ที่แรงบันดาลใจมี เมื่อหมดแรงบันดาลใจปลายปากกาก็หยุดการเคลื่อนไหว จากนั้นก็จะจอดอยู่กับที่นั้นเอง แต่ถ้าผู้เขียนไม่มีศิลป์ผลงานที่ออกมา จะไม่งดงามไม่พลิ้วไหวไม่มีความซาบซึ้งถึงอรรถรส ดังนั้นการเขียนเพลงต้องมีทั้งสองอย่างนี้ประกอบกันอยู่
การเขียนเพลงไม่มีสูตรสำเร็จ แต่การเขียนเพลงก็มีวิธีการคิดการเขียนในแต่ละแนวไม่ต่างกันมากนัก สูตรการเขียนเพลงคือการลอกเลียนแบบกันไปกันมาหรือการเอาอย่าง แต่ไม่ได้หมายถึงการก๊อบปี้หรือที่เรียกว่าได้ฟังเพลงเขาแล้วเราเกิดไอเดีย มันก็คือการเลียบแบบ แบบลับนี้เอง ขึ้นอยู่กับว่าจะลอกแบบความคิดของคนอื่นมามากน้อยเพียงใดแล้วแต่ว่าคำ ภาษา หรือเรื่องราวในเพลงจะมาบวกกับจิตนาการของเขาอย่างไร เมื่อเขียนเพลงไปนานๆเข้า งานเขียนจะเกิดเป็นอัตลักษณ์เป็นตัวของตัวเอง ไม่มีนักเขียนคนใดเกิดมาพร้อมปากกาและสมุดเขียนเพลงได้ไพเราะน่าอัศจรรย์ใจไม่มีเลย นักเขียนทุกคนมีครูมีอาจารย์ อาจจะไม่ใช่ครูในชีวิต แต่อาจเป็นครูในใจ
เทคนิคการแต่งเพลงโดยพื้นฐาน
1.เริ่มจาก melody วิธีนี้เบสิคสุดแต่ว่าไม่ง่ายสำหรับมือใหม่เพราะต้องหาคอร์ดมารองรับเมโลดี้ให้พอเหมาะ วิธีนี้อาจเหมาะสำหรับคนที่เริ่มชำนาญในเครื่องดนตรีของตัวเองแล้ว
2.เริ่มจากเนื้อร้อง วิธีนี้เป็นอีกวิธีที่คนนิยมใช้กันเพราะว่าจะได้ให้เนื้อหาเป็นจุดนำทางดนตรีไปในทิศทางที่เรื่องราวดำเนินไป
3.Melody + เนื้อร้องพร้อมกัน วิธีนี้สำหรับบางคนอาจไม่ยากและเป็นธรรมชาติกว่า
4.เริ่มจาก Harmony (คอร์ด)
5.Harmony + Melody + เนื้อร้อง หรือ Harmony + Melody ทางที่เรียกได้ว่า รวมหลายๆสกิลไว้ด้วยกัน